มาทำความรู้จักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาวิกฤติเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นผลมาจากปัจจัยทั้งภายในประเทศและจากปัจจัยต่างประเทศ โดยพื้นฐานของประเทศไทยเป็นประเทศที่มีภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก แต่กลับมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติไปอย่างสิ้นเปลือง และทรัพยากรก็มีความเสื่อมโทรมมีปริมาณทรัพยากรที่น้อยลงอย่างน่าเป็นห่วง แต่การพัฒนาความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ยังขาดความรู้ทางวิชาการ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559) จึงได้กำหนดให้ทุกหน่ายงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่การพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นความเจริญทางวัตถุ แต่กลับมองข้ามประเด็นในเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่มาพร้อมกับความเสื่อมโทรมทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรป่าไม้ทรัพยากรน้ำ มลพิษทางอากาศ หรือมลพิษทางน้ำ อีกทั้งในประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของโลก ดังนั้นการควบคุมในภาพรวมของประเทศโดยใช้หลักเกณฑ์หรือกรอบทางกฎหมายในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมจึงมีความสาคัญเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐจะต้องเข้ามากำกับดูแลให้เกิดความสมดุล มีความเป็นเอกภาพและเป็นรูปธรรมอย่างเร่งด่วน

​ ปัจจุบัน กฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องของสิ่งแวดล้อมโดยมีกฎหมายสูงสุดของประเทศที่กำหนดภาพรวมได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่กำหนดให้บุคคลมีสิทธิที่จะจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ ในมาตรา 43(2) และมีสิทธิร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม ในมาตรา 50 (8) และรัฐต้องอนุรักษ์ คุ้มครอง บำรุงรักษาฟื้นฟู บริหารจัดการและใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน โดยต้องให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินการและได้รับประโยชน์จากการดำเนินการดังกล่าวด้วยตามที่กฎหมายบัญญัติ ตามมาตรา 57 (2) แต่เมื่อมาพิจารณากฎหมายลำดับรองแล้วพบว่ามีกฎหมายของภาครัฐที่เกี่ยวกับประเด็นสิ่งแวดล้อมในแต่ละประเภทเป็นจำนวนมาก โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ​กฎหมายประเภทกำหนดนโยบายบริหารจัดการทรัพยากร มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดในเรื่องของนโยบายในการบริหารจัดการเกี่ยวกับทรัพยากร ได้แก่
    • พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 , ประมวลกฎหมายที่ดิน ,พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 , พระราชบัญญัตินโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2551 
  2. กฎหมายประเภทอนุรักษ์คุ้มครองทรัพยากร มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการอนุรักษ์และคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่
    • ​พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 , พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 , พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 , พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
  3. กฎหมายประเภทควบคุม สำรวจ และใช้ทรัพยากร มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม สำรวจ และการใช้ทรัพยากร ได้แก่
    • พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 , พระราชบัญญัติขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 , พระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ.2504 , พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 , พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 , พระราชบัญญัติเดินเรือในน่านน้าไทย พ.ศ. 2456 
  4. กฎหมายประเภทกาหนดพื้นที่ของทรัพยากร มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดพื้นที่ของทรัพยากร ได้แก่
    • พระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2522 , พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 , พระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ. 2526 , พระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543
  5. ​กฎหมายประเภทควบคุมทรัพยากร มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมทรัพยากรในแต่ละเรื่อง ได้แก่
    • พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 , พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 , พระราชบัญญัติธุรกิจนาเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 , พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

​จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น พบว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อมมีกฎหมายจำนวนมากที่มีบทบัญญัติกำหนดในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นการปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดการพัฒนาในมาตรการทางกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพมากกว่าที่จะใช้มาตรการสั่งการและควบคุม ในทางกลับกัน การนำมาตรการทางกฎหมายมาใช้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจังของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยการมีพันธะร่วมกันที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดำรงอยู่ในสภาพที่ดีเพื่ออนาคต ลำพังเฉพาะการมีมาตรการทางกฎหมาย หาได้เพียงพอต่อการดูแลอนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อม ความสำคัญจึงอยู่ที่ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องที่จะทำให้กฎหมายดังกล่าวเกิดการสัมฤทธิ์ผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ การมีกฎหมายกลางที่จะรวบรวมบูรณาการหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้มาตรการทางกฎหมายควบคู่กันไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืนต่อไป

ที่มา : ทีมที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

Scroll to Top