โครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม สาขาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ

การเพิ่มผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการก้าวกระโดดของเทคโนโลยี นวัตกรรมการผลิตและผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลและยุคอุตสาหกรรม 4.0  โดยการส่งเสริมให้มีการยกระดับฝีมือแรงงาน และการปรับตัวรองรับกระบวนการผลิตและเทคโนโลยีการผลิตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กลุ่มเป้าหมายโครงการคือ แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ  ทั้งโรงงานผลิตสินค้าสำเร็จรูป  โรงงานผลิตชิ้นส่วน และโรงงานอุตสาหกรรมสนับสนุนที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ

กิจกรรมในโครงการได้ส่งเสริมให้มีการปรับตัว พัฒนาและยกระดับฝีมือแรงงาน เพื่อส่งเสริมให้การยกระดับฝีมือแรงงานในอุตสาหกรรมในการรองรับกระบวนการผลิตและเทคโนโลยีการผลิตที่เปลี่ยนแปลง ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ได้จัดอบรมจำนวนทั้งสิ้น 702 คน จากแผนการดำเนินงานทั้งโครงการ 700 คน คิดเป็นร้อยละ 100.28 โดยมี Outcome ระดับผลิตภาพแรงงานที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.37 และการขยายผลต่อ จำนวน 1,040 คน

ฝึกอบรมนักพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง

เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรผ่านการฝึกอบรมในด้านเทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงมีการศึกษาดูงานในองค์กรต้นแบบในด้านดังกล่าว โดยมีการฝึกอบรม และศึกษาดูงานรวมทั้งสิ้น 60 ชั่วโมง มีจำนวนผู้ผ่านการอบรมทั้งสิ้น 50 คน

ฝึกอบรมพัฒนาแรงงานในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะฯ

กิจกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรในด้านเครื่องมือที่สำคัญในการเพิ่มผลผลิตให้แก่องค์กร โดยครอบคลุมเนื้อหาหลักสูตรทั้งในระดับผู้ปฏิบัติการ วิศวกร หัวหน้างาน และผู้บริหารองค์กร โดยมีการฝึกอบรมทั้งสิ้นจำนวน 18 ชั่วโมง มีผู้ผ่านการอบรมทั้งสิ้น 602 คน

ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในระดับวิทยากร 4.0

การฝึกอบรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรที่มีประสบการณ์สู่การเป็น Trainer ภายในองค์กรเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้สู่บุคลากรในองค์กร โดยเป็นการฝึกปฏิบัติอย่างเข้มข้นจำนวน 60 ชั่วโมง โดยมีผู้เข้าอบรมทั้งสิ้นจำนวน 50 คน และมีการขยายผลต่อถึง 1,040 คน

มูลค่าทางเศรษฐกิจของโครงการ พบว่าการพัฒนาฝีมือแรงงานและรักษาสภาพการจ้างงาน จำนวนทั้งสิ้น 702 คน โดยเป็นระดับวิทยากร 50 คน ส่งผลให้รักษาสภาพการจ้างงานในอุตสาหกรรมเดิมและสามารถเพิ่มผลิตภาพแรงงานของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สูงขึ้นร้อยละ 11.37 และจากการคำนวณมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ จะคำนวณจากบุคลากรจำนวน 652 คน ในภาคอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมฝึกอบรมในกิจกรรมที่ 1 และ 2 โดยไม่รวมบุคลากรในกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในระดับวิทยากร 4.0 (กิจกรรมที่ 3) จำนวน 50 คน ซึ่งพบว่าผู้เข้าอบรมทั้งหมดที่นำมาคิดผลิตภาพแรงงาน 652 คน รวมมูลค่าเชิงเศรษฐกิจทั้งหมดเป็นจำนวนเงิน 17,791,776 บาท

Scroll to Top