โคงการสร้างนักพัฒนาผลิตภัณฑ์และพัฒนาระบบผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ

ปัจจุบันผู้ประกอบการไทยประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจ สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้ดำเนินงานโครงการร่วมกับ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อสร้าง System Developer ให้กับผู้ประกอบการ โดยเน้นการสร้าง System Analyst ควบคู่ไปด้วย โดย System Analyst ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรม รวมทั้งให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม 

นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการจัดตั้งเครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Center of Robotics Excellence : CoRE) โดยเป็นเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงานชั้นนำด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของประเทศ เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากร ซึ่งสามารถยกระดับบุคลากรในเครือข่ายให้ทำหน้าที่ System Analyst ได้

ซึ่งภายใต้ “โครงการสร้างนักพัฒนาผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ” ที่มุ่งเน้นพัฒนา System Analyst และ System Developer ให้สามารถพัฒนาระบบผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะให้กับภาคอุตสาหกรรมจริง โดย System Analyst และ System Developer ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการฝึกอบรมความรู้ที่จำเป็นต่างๆ ทั้งด้านเทคนิคการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ Smart Electronics ด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และการวิเคราะห์ความคุ้มค่าการลงทุน ซึ่งเมื่อโครงการเสร็จสิ้นแล้ว System Analyst และ System Developer เหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของประเทศไทยต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. สร้าง System Analyst เพื่อวิเคราะห์กระบวนการผลิตในโรงงาน และให้คำปรึกษาในการปรับ เปลี่ยนกระบวนการผลิตและพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม
  2. บ่มเพาะ System Developer เพื่อรองรับการเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ในสาขาต่าง ๆ เช่น โรงงานอัจฉริยะ (Smart factory), เกษตรอัจฉริยะ (Smart farming) และ เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Product)
  3. สร้างกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (CoRE) กับผู้ประกอบการ SI (System Integrator) จากสมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (TARA) เพื่อพัฒนาเป็น System Analyst (SA) และ System Developer (SD)

ผลการดำเนินงาน

  • กิจกรรม System Analyst (SA)
    • รุ่นที่ 1 มีผู้ผ่านการฝึกอบรม และขึ้นทะเบียนบุคคล System Analyst จำนวน 20 คน
    • รุ่นที่ 2 มีผู้ผ่านการฝึกอบรม และขึ้นทะเบียนบุคคล System Analyst จำนวน 21 คน
    • ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรมทั้ง 2 รุ่น คิดเป็นร้อยละ 92.27
  • กิจกรรม System Developer (SD)
    • ภาคกลาง หลักสูตร Smart Product
      • ผ่านการฝึกอบรมและขึ้นทะเบียนบุคคล System Developer จำนวน 21 คน
      • ขึ้นทะเบียนกิจการ  System Developer จำนวน 3 กิจการ
      • พัฒนาต้นแบบจำนวน 2 ต้นแบบ ดังนี้
        • Smart picker (for multi part) เครื่องหยิบและวางกุ้งสำหรับปอกเปลือกกุ้ง
        • Smart AioT Box (for Security) กล่องปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะเพื่อรักษาความปลอดภัย
      • ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรม คิดเป็นร้อยละ 91.64
    • ภาคตะวันออก หลักสูตร Smart Manufacturing
      • มีผู้ผ่านการฝึกอบรม และขึ้นทะเบียนบุคคล System Developer จำนวน 19 คน 
      • ขึ้นทะเบียนกิจการ  System Developer จำนวน 3 กิจการ
      • พัฒนาต้นแบบจำนวน 2 ต้นแบบ ดังนี้
        • ระบบการขนส่งสินค้าภายในโรงงานระหว่างไลน์การผลิตโดยใช้ AMRs
        • ระบบการตรวจสอบการใช้พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมแบบราคาประหยัด
      • ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรม คิดเป็นร้อยละ 86.62
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลักสูตร Smart Agro
      • มีผู้ผ่านการฝึกอบรม และขึ้นทะเบียนบุคคล System Developer จำนวน 41 คน 
      • ขึ้นทะเบียนกิจการ  System Developer จำนวน 3 กิจการ
      • พัฒนาต้นแบบจำนวน 2 ต้นแบบ ดังนี้
        • ระบบ Boiler Efficiency Optimization Control with LHV Monitoring System
        • ระบบ AI ตรวจสอบความปลอดภัยและตรวจเวลาเข้าออกของพนักงาน
      • ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรม คิดเป็นร้อยละ 93.48
    • ภาคเหนือ หลักสูตร Smart farm
      • มีผู้ผ่านการฝึกอบรม และขึ้นทะเบียนบุคคล System Developer จำนวน 22 คน 
      • ขึ้นทะเบียนกิจการ  System Developer จำนวน 3 กิจการ
      • พัฒนาต้นแบบจำนวน 2 ต้นแบบ ดังนี้
        • เครื่องสร้างสูตรปุ๋ยแม่นยำระดับไอออนของธาตุอาหารพืช
        • โรงเรือนเพาะเห็ดโคนน้อยด้วยระบบอัจฉริยะ
      • ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรม คิดเป็นร้อยละ 84.28

ภาพรวมกิจกรรม

กิจกรรมพัฒนา System Analyst (SA) สถาบันดำเนินจัดกิจกรรมฝึกอบรมหลักสูตรนักวิเคราะห์และพัฒนาระบบ (SA) จำนวน 2 รุ่น ดังนี้

รุ่นที่ 1

รุ่นที่ 1 ดำเนินการจัดอบรมระหว่างวันที่ 3 ก.พ. – 29 เม.ย. 2565 (จำนวนผู้เข้าอบรม 20 คน)

กิจกรรม Visit เข้าวิเคราะห์ปัญหาของบริษัท เพื่อใช้ประกอบแนวทางการแก้ไขปัญหา (Solution) ให้กับผู้ประกอบการ จำนวน 3 บริษัท ประกอบด้วย

  • บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด
  • บริษัท บางกอกชีทเม็ททัล จำกัด
  • บริษัท เค.เค.ไดคาสติ้ง จำกัด
รุ่นที่ 2

รุ่นที่ 2 ดำเนินการจัดอบรมระหว่างวันที่ 11 มี.ค. – 28 มิ.ย. 2565 (จำนวนผู้เข้าอบรม 21 คน)

กิจกรรม Visit เข้าวิเคราะห์ปัญหาของบริษัท เพื่อใช้ประกอบแนวทางการแก้ไขปัญหา (Solution) ให้กับผู้ประกอบการ จำนวน 3 บริษัท ประกอบด้วย

  • บริษัท สยาม เอ็ม. ซี. จำกัด
  • บริษัท ซีบี โคโคนัท จำกัด
  • บริษัท เควี อีเลคทรอนิคส์ จำกัด

กิจกรรมพัฒนา System Developer (SD) สถาบันฯ จะดำเนินจัดกิจกรรมฝึกอบรม จำนวน 4 รุ่น พร้อมทั้งพัฒนาต้นแบบรุ่นละ 2 ต้นแบบ (รวม 8 ต้นแบบ) ดังนี้

รุ่นที่ 1

หลักสูตร Smart Product (ภาคกลาง) ระหว่างวันที่ 5 ก.พ. – 9 ก.ค. 2565

การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ หรือระบบ

ต้นแบบที่ 1

Smart picker (for multi part) เครื่องหยิบและวางกุ้งสำหรับปอกเปลือกกุ้ง

ต้นแบบที่ 2

Smart AioT Box (for Security) กล่องปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะเพื่อรักษาความปลอดภัย

รุ่นที่ 2

หลักสูตร Smart Manufacturing (ภาคตะวันออก) ระหว่างวันที่ 5 กุมภาพันธ์ – 10 กรกฎาคม 2565

การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ หรือระบบ

ต้นแบบที่ 1

ระบบการขนส่งสินค้าภายในโรงงานระหว่างไลน์การผลิตโดยใช้ AMRs

ต้นแบบที่ 2

ระบบการตรวจสอบการใช้พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมแบบราคาประหยัด

รุ่นที่ 3

หลักสูตร Smart Farm (ภาคเหนือ) ระหว่างวันที่ 5 ก.พ. – 24 ก.ค. 2565

การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ หรือระบบ

ต้นแบบที่ 1

เครื่องสร้างสูตรปุ๋ยแม่นยำระดับไอออนของธาตุอาหารพืช

ต้นแบบที่ 2

โรงเรือนเพาะเห็ดโคนน้อยด้วยระบบอัจฉริยะ

รุ่นที่ 4

หลักสูตร Smart Agro (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ระหว่างวันที่ 5 ก.พ. – 16 ก.ค. 2565

การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ หรือระบบ

ต้นแบบที่ 1

ระบบ Boiler Efficiency Optimization Control with LHV Monitoring System

ต้นแบบที่ 2

ระบบ AI ตรวจสอบความปลอดภัยและตรวจเวลาเข้าออกของ

Success Case การจัดทำต้นแบบระบบหรือผลิตภัณฑ์ของทั้ง 4 ภูมิภาค จำนวน 4 ต้นแบบ

ต้นแบบที่ 1

พัฒนาจากการฝึกอบรมหลักสูตร Smart Product (ภาคกลาง) โดยการจัดทำต้นแบบ Smart picker (for multi part) เครื่องหยิบและวางกุ้งสำหรับปอกเปลือกกุ้ง

มาตรฐานที่ตรวจได้

ต้นแบบที่ 2

พัฒนาจากการฝึกอบรมหลักสูตร Smart Manufacturing (ภาคตะวันออก) โดยการจัดทำต้นแบบระบบการตรวจสอบการใช้พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมแบบราคาประหยัด

ต้นแบบที่ 1

ระบบ Boiler Efficiency Optimization Control with LHV Monitoring System

ต้นแบบที่ 2

ระบบ AI ตรวจสอบความปลอดภัยและตรวจเวลาเข้าออกของ

ต้นแบบที่ 3

พัฒนาจากการฝึกอบรมหลักสูตร Smart Agro (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) โดยการจัดทำต้นแบบระบบ Boiler Efficiency Optimization Control with LHV Monitoring System by CIRACORE

มาตรฐานที่ตรวจได้

ต้นแบบที่ 4

พัฒนาจากการฝึกอบรมหลักสูตร Smart farm (ภาคเหนือ) โดยการจัดทำต้นแบบโรงเรือนเพาะเห็ดโคนน้อยด้วยระบบอัจฉริยะ

Scroll to Top